เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรียกว่าหน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage)

 สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

 

1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)

             หรือเรียกว่า หน่วยความจำภายใน (Internal Memory)  สามารถแบ่งออกเป็น ประเภท ได้แก่
           รอม (Read Only Memory - ROM)  เป็นหน่วยความจำที่มีโปรแกรมหรือข้อมูลอยู่แล้วสามารถเรียกออกมา
ใช้งานได้แต่จะไม่สามารถเขียนเพิ่มเติมได้ และแม้ว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไปเลี้ยงให้แก่ระบบข้อมูลก็ไม่สูญหายไป
 
             แรม (Random Access Memory)เป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น เมื่อใดไม่มีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยงข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำชนิดนี้จะหายไปทันที
 
มีหน้าที่ในการบันทึกข้อมูลระหว่างการประมวลผลของ CPU
  2. หน่วยความจำรอง (Second Memory)
           หรือหน่วยความจำ(External Memory) เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยสื่อบันทึกข้อมูลและอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูล
ชนิดต่างๆ ได้แก่
           2.1 ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)
 
มีหน้าที่ในการบันทึกโปรแกรมและข้อมูลของเราในเครื่องคอมพิวเตอร์
             2.2 ไดร์ฟอ่านและเขียนข้อมูลแบบ CD / DVD
 
มีหน้าที่ในการอ่านและเขียนข้อมูลลงบนแผ่นซีดี หรือ ดีวีดี
CD มีความจุสูงสุดที่ 700 MB, DVD ปัจจุบันมีความจุสูงสุดที่ 8.4 GB
             2.3 ไดร์ฟอ่านและเขียนข้อมูลแบบแผ่นฟลอปปี้ดิสก์ (Floppy Disk Drive)
 
มีหน้าที่ในการอ่านและเขียนข้อมูลแบบแผ่น มีความจุสูงสุดที่ 1.44 MB
แต่ปัจจุบันแผ่นฟลอปปี้ดิสก์ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากบันทึกข้อมูลได้น้อย
             *ปัจจุบันแผ่นฟลอปปี้ดิสก์ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากบันทึกข้อมูลได้น้อยผู้ใช้ส่วนใหญ่จึงนิยมหันมาใช้ USB Drive หรือ
Flash Drive หรือ Handy Drive แทน
 
 
Free Web Hosting